การใช้งานแบตเตอรี่อย่างถูกวิธี
1. ถ้ามีไฟเตือน รูปแบตเตอรี่บนหน้าปัทม์รถ ควรทำอย่างไร ?
โดยปกติแล้ว เราจะเห็น เจ้าสัญญาณเตือนรูปแบตเตอรี่บนหน้าปัทม์รถยนต์ เมื่อบิดกุญแจในจังหวะแรก ไฟเตือนจะต้องสว่างนิ่งและเมื่อเครื่องยนต์ถูกสตาร์ท และทำงานแล้ว ไฟเตือนจะดับลงตลอดการขับ หากเครื่องยนต์ยังทำงานอยู่แล้วมีไฟเตือนรูปแบตเตอรี่สว่างขึ้น ถือเป็นสัญญาณอันตรายอย่างร้ายแรง ต้องอธิบายก่อนว่าการที่มีไฟเตือนรูปแบตเตอรี่ขึ้นนั้น มิได้เป็นการเตือนว่าแบตเตอรี่ไฟหมดหรือเต็ม แต่เป็นการแสดงถึงความผิดปกติของระบบไดชาร์จ ทำให้เครื่องยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องใช้ไฟจากแบตเตอรี่อย่างเดียว ทีนี้เรามาดูกันว่าถ้ามี่ไฟเตือนขึ้นควรทำอย่างไร อันดับแรกให้สันนิษฐานไว้ก่อน 2 กรณี ดังนี้
- ไดชาร์จเสียหรือระบบการประจุไฟฟ้าเสีย
- สายพานไดชาร์จขาด ให้รีบจอดรถในที่ปลอดภัยเพื่อลงมาตรวจดูสายพานเป็นอย่างแรก ถ้าสานพานไม่ขาด แสดงว่าระบบไดชาร์จเสีย แต่ยังมีไฟฟ้าสำรองในแบตเตอรี่อยู่ สามารถขับต่อไปได้ในระยะทางสั้นๆ 5-10 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่และเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงควรปิดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าลงทั้งหมด เช่น แอร์ เครื่องเสียงฯลฯ เพื่อให้มีการ ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ช้าและน้อยลง เพื่อที่จะนำพารถไปถึงศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุดได้ เพื่อทำการซ่อมแซม แต่ทางที่ดีควรหมั่นตรวจสภาพของไดชาร์จ สายพาน ให้อยู่ในสภาพปกติทุกครั้งก่อนเดินทาง และเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการตามระยะเวลาที่คู่มือรถกำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการขับขี่อย่างมั่นใจตลอดทางนะครับ
2. การถอดแบตเตอรี่อย่างถูกวิธี และปลอดภัย
การเปลี่ยนแบตเตอรี่ เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยจะได้ทำบ่อยนักเพราะแบตเตอรี่ 1 ลูกหากมีการดูแลรักษาที่ดีจะสามารถใช้ได้นาน 2-3ปีเลยทีเดียว การเปลี่ยนแบตเตอรี่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอะไร แต่ก็ต้องทำให้ถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ระบบควบคุม และอุปกรณ์ต่างๆซึ่งปัจจุบันล้วนเป็นระบบคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เอง ควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกครั้ง หรือดึงกุญแจออกก่อน
- ในการถอดแบตเตอรี่ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร
- และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ
ถ้าจะให้จำง่ายๆก็คือ “ถอดลบ (-) ใส่ (+)” เพื่อป้องกันการลัดวงจรและก่อนให้เกิดความเสียหายแก่รถของคุณ
3. การต่อพ่วงแบตเตอรี่ฉุกเฉิน
ในบางครั้งเราหรือเพื่อนร่วมทาง อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าไฟหมด อาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ลืมปิดไฟหน้า ลืมปิดอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า จนไฟหมด หรือแบตเตอรี่เสื่อม อาจจะต้องมีการต่อพ่วงแบตเตอรี่จากรถคันอื่น เราจึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้การต่อพ่วงอย่างถูกวิธีดังนี้
- ดูประเภทรถที่เหมาะสมกัน ให้ดูจากขนาดแบตเตอรี่เป็นหลัก คือรถที่จะนำมาต่อพ่วงต้องมีขนาดเท่าใกล้เคียงกันหรือใหญ่กว่ารถที่ไฟหมด ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารถที่ไฟหมดเป็นรถกระบะคันใหญ่ จะนำรถเก๋งขนาดเล็กมาต่อพวงไม่ได้เพราะจะสตาร์ทเครื่องไม่ติด เนื่องจากขนาดของไดสตาร์ทของรถกระบะมีขนาดใหญ่ต้องการกำลังไฟมากกว่านั้นเอง
- สายที่นำมาใช้ต่อพ่วงต้องมีขนาดใหญ่พอสมควร และไม่ยาวจนเกินไป จำนวน 2 เส้น เพื่อที่จะสามารถนำพาประจุไฟฟ้ามาใช้ในการสตาร์ทได้อย่างเต็มที่ เราจะสังเกตได้จากอุณหภูมิที่ตัวสายพ่วงขณะสตาร์ทจะร้อนมาก ถ้าใช้สายเส้นเล็กอาจจะทำให้สตาร์ทไม่ติดและสายไฟอาจละลายขาดได้เลยทีเดียว ควรมีสีที่ต่างกัน สีละเส้นพื่อป้องกันการต่อสลับขั้ว ที่นิยมใช้ คือ แดง(+) ดำ(-)
- นำรถมาจอดคู่กัน ให้ด้านที่มีแบตเตอรี่หันเข้าหากันเพื่อสะดวกในการต่อพ่วง และควรจอดในลักษณะที่ปลอดภัยด้วย
- การต่อขั้วบวก(+) สายพ่วงเส้นสีแดงเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่ลูกที่ไฟหมด อีกข้างหนึ่งของสายต่อ กับขั้วบวกของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ
- การต่อขั้วลบ(-) สายพ่วงเส้นสีดำ เข้ากับขั้วลบ(-) ของแบตเตอรี่ลูกที่มีไฟ อีกข้างหนึ่งของสายพ่วงต่อเข้ากับโครงรถหรือเสื้อสูบเครื่องยนต์ของคันที่ไฟหมด เพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ
- เมื่อสตาร์ทรถยนต์คันที่ไฟหมด ติดแล้ว จึงค่อยถอดสายพ่วงแบตเตอรี่ทวนตามลำดับที่กล่าวมาข้างต้น
4. จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหญ่ แอมป์สูงดีไหม
หากแบตเตอรี่หมดสภาพ หรือถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ จะเปลี่ยนเป็นแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นดีไหม ถ้าใช้แอมป์สูงขึ้นไดชาร์จจะพังหรือเปล่า เป็นคำถามที่หลายคนหนักใจเพราะกังวลว่าจะทำให้เครื่องและระบบไฟฟ้าเสียหาย แต่ที่จริงแล้วการเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ลูกใหญ่ขึ้น แอมป์สูงขึ้น จะทำให้รถยนต์ของคุณมีกำลังไฟฟ้าสำรองมากขึ้น มีกำลังไฟสตาร์ทแรงขึ้น และทำให้ไดชาร์จทำงานหนักน้อยลง ไม่พังง่ายฉะนั้นเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ ควรคำนึงว่าหากต้องเพิ่มเงินไม่กี่ร้อยบาท แต่ได้สิ่งที่คุ้มค่ากว่ากลับคืนมา แต่ต้องดูพื้นที่ด้วยว่าสามารถวางแบตเตอรี่ลูกที่ใหญ่กว่าได้หรือไม่
5. ข้อพึงระวังในการใช้งานแบตเตอรี่
- หลีกเลี่ยงการใช้งานหนักเกินไป เช่น ใช้ไฟ้ฟ้าจากแบตเตอรี่จนไฟหมดสตาร์ทเครื่องไม่ได้เป็นประจำจะทำให้แบตเตอรี่มีอายุสั้นลง
- หลีกเลี่ยงการอัดไฟมากเกินไป การอัดไฟมากเกิดไปจะทำให้อายุแบตเตอรี่สั้น ดังนั้นควรอัดไฟด้วยวิธีที่ถูกต้อง
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด อย่าให้อุณหภูมิของน้ำกรดสูงเกิน 60°C
- รักษาระดับน้ำกรดให้พอดี ขณะใช้งานน้ำกรดจะค่อยๆ ลดระดับลง ดังนั้นต้องเติม "น้ำกลั่น" เท่านั้น อย่าปล่อยให้ระดับน้ำกรดต่ำกว่าแผ่นธาตุ และระวัง! อย่าเติมจนล้น
- ห้ามใช้งานใกล้เปลวไฟ เนื่องจากในแบตเตอรี่มีปฏกิริยาเคมีทำให้เกิดก๊าชไฮโดรเจน และอ็อกซิเจนขึ้น อาจเกิดอันตรายได้
- รักษาแบตเตอรี่ให้แห้ง และสะอาด ควรรักษาสถาพภายนอกของแบตเตอรี่ให้แห้งและสะอาด เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วและผุกร่อน
6. วิธีการบำรุงรักษา
- หมั่นตรวจดูรูระบายอากาศที่จุก อย่าให้สิ่งสกปรกไปอุดตันโดยเด็ดขาด
- กรณีขั้วสกปรกหรือมีคราบขาว (ขี้เกลือ) เกาะให้ล้างทำความสะอาดด้วนน้ำร้อนและทาด้วยจาระบี หรือวาสลีนรอบๆ ขั้วของแบตเตอรี่
- หมั่นตรวจดูปริมาณน้ำกรดในแบตเตอรี่อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งให้อยู่ในระหว่างระดับ UPPER และ LOWER ใช้นำกลั่นเติมเท่านั้นห้ามใช้น้ำกรดเติมเด็ดขาด
- ควรตรวจดู เรกูเรเตอร์ และระบบไฟชาร์ตของรถยนต์ทุกๆ 6 เดือน
- แบตเตอรี่ที่ถูกเก็บไว้นานๆ โดยไม่ไดใ้ช้หรือใช้งานไม่สม่ำเสมอ ให้นำไปอัดไฟอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง
- ในกรณีแบตเตอรี่เสียหรือไฟหมดให้นำไปตรวจเช็คที่ร้านตัวแทนจำหน่าย
7. เราจะทราบได้อย่างไรว่า แบตเตอรี่เริ่มเสื่อม
เมื่อเราใช้แบตเตอรี่ไปได้สัก 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมสภาพ หากสังเกตดีๆ เมื่อแบตเตอรี่ใกล้เสื่อมสภาพจะมีสัญญาณเตือนดังนี้
- เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
- ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง
- ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
- ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปรกติ
เมื่อมีสัญญาณเตือนดังนี้ ก็เข้าร้านตัวแทนจำหน่าย GS แบตเตอรี่ เพื่อเปลี่ยนใหม่ได้เลยครับ